ประกาศสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เรื่อง มาตรการและแนวปฏิบัติในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)

ระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ถึง 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564

****************

 

         ตามที่มีการระบาดระลอกใหม่ของเชื้อโรค COVID-19 ซึ่งได้ขยายขอบเขตการแพร่โรคออกเป็นวงกว้าง และมีผู้ติดเชื้อภายในประเทศเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ประกอบกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ ออกประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การขยายเวลาการปิดสถานที่ท าการชั่วคราว การจัดการเรียนการ สอน และการปฏิบัติงานในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ขยายเวลาปิดสถานที่ทำการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 จนถึงวันที่ 1 สิงหาคมพ.ศ. 2564

นอกจากนี้ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)ได้ประกาศให้ กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2564 ดังนั้นเพื่อป้องกันการแพร่ ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 และลดโอกาสการติดเชื้อโรคดังกล่าว สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน ้าจึงใคร่ประกาศ มาตรการและแนวปฏิบัติในการปฏิบัติงานส าหรับบุคลากรของสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน ้า บุคลากรที่ปฏิบัติงาน ณ สถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิต เกาะสีชัง) ลูกจ้างของสถานีวิจัยฯ เกาะสีชัง และลูกจ้าง โครงการวิจัย ให้ปฏิบัติตัวในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ดังนี้

1. ปิดสถานที่ทำการได้แก่ สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ อาคารสถาบัน 3 ชั้น 9 และสถานีวิจัย วิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิต เกาะสีชัง ได้แ่ก่ พิพิธภัณฑ์ชลทัศนสถาน หน่วยปฏิบัติการวิจัย ศูนย์การเรียนรู้ และอาคารฝึกอบรมและสัมมนา

2. ขอให้บุคลากร นักวิจัย หรือผู้ปฏิบัติงานของสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน ้า ทั้งที่ประจำที่กรุงเทพฯ และที่สถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิต เกาะสีชัง อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี ปฏิบัติงาน ณ สถานที่พัก อาศัย ยกเว้นผู้ที่ได้รับคำสั่งให้มาเข้าเวรดูแลความปลอดภัยของสถานที่และทรัพย์สิน ตามที่ได้มอบหมายจากผู้บังคับบัญชา

3. ขอให้บุคลากรที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการสถาบันฯ ให้สลับกันเข้ามา ปฏิบัติงานในพื้นที่ของสถาบันฯ และสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิตเกาะสีชัง เพื่อดูแลความ ปลอดภัยของทรัพย์สินและดูแลสัตว์ทะเล ปฏิบัติงานตามแผนการปฏิบัติงานโดยเต็มกำลังความสามารถ รักษา วินัยในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด และปฏิบัติตัวตามมาตรการการควบคุมหลักในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ของศูนย์ควบคุมสถานการณ์หลักในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) และ มาตรการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด

4. บุคลากร นักวิจัย หรือผู้ช่วยวิจัย ที่มีความจำเป็นต้องเข้ามาการเดินทางเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่ของ มหาวิทยาลัยจะกระทำได้ในกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วนอย่างยิ่งเท่านั้นและจะต้องได้รับอนุมัติหรืออนุญาตจาก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน่้ำก่อน โดยแจ้งความจำนงในการเข้ามาปฏิบัติงานล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน ทำการ ที่รองผู้อำนวยการ (ฝ่ายบริหาร) โดยมีกำหนดเวลาเข้า – ออกพื้นที่ เวลา 09.00 – 15.00 น.

5. ห้ามมิให้บุคคลภายนอกเข้ามาในพื้นที่สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำและสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทาง ทะเลและศูนย์ฝึกนิสิตเกาะสีชัง หากมีความจำเป็นจะต้องแจ้งขออนุมัติ/อนุญาต ล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน พร้อม เอกสารยืนยันการได้รับวัคซีน Sinovac เข็มที่ 2 หรือ Astrazeneca เข็มที่ 1 แล้วไม่น้อยกว่า 14 วัน

6. บุคลากร นักวิจัย ผู้ปฏิบัติงาน และผู้มาติดต่อที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่ของสถาบันฯ ขอให้ลงทะเบียนผ่านการสแกน QR code ไทยชนะ ก่อนเข้าอาคาร วัดอุณหภูมิ และสวมหน้ากากอนามัย/ผ้า ตลอดเวลาการติดต่อ ปฏิบัติงาน และทำาการเว้นระยะห่างทางกายภาพอย่างเคร่งครัด

7. ขอความร่วมมือให้บุคลากรของสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำทุกส่วนงาน งดหรือชะลอการเดินทาง ข้ามพื้นที่จังหวัดโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หากมีความจำเป็นต้องเดินทางออกนอก พื้นที่ต้องแจ้งผู้บังคับบัญชาทุกครั้ง

8. ในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 5 – 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ขอความร่วมมือให้บุคลากรของสถาบันวิจัย ทรัพยากรทางน้ำทุกส่วนงานงดการเดินทางออกนอกสถานที่พักอาศัย หรือพบปะกับบุคคลอื่นหรือกลุ่มบุคคลโดย ไม่จำเป็น ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงเป็นประการใด สถาบันฯ จะประกาศให้ทราบ โดยเร็วต่อไป

ประกาศ ณ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

(รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราภรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์)

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ

 

การบรรยายภาคทฤษฎี
การบรรยายภาคทฤษฎี
ฝึกใช้งานเครื่อง FlowCAM
ฝึกปฎิบัติใช้เครื่อง FlowCAM
ฝึกใช้งานเครื่อง FlowCAM
ฝึกใช้งานเครื่อง FlowCAM
ฝึกใช้งานเครื่อง FlowCAM
วิเคราะห์ผลที่ได้จากเครื่อง FlowCAM