เกณฑ์การใช้และอัตราค่าใช้สถานที่ของสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๔

อัตราค่าห้องพัก

ประเภท

บุคลากรจุฬาฯ

บุคลากรภายนอก

ห้องปรับอากาศ
ขนาด ๖ คน
๑,๕๐๐ บาท / ห้อง / วัน
๑,๘๐๐ บาท / ห้อง / วัน
ห้องปรับอากาศ
ขนาด ๒ คน
๖๐๐ บาท / ห้อง / วัน
๘๐๐ บาท / ห้อง / วัน
     
อัตราห้องประชุม
ห้องประชุมขนาด ๘๐ คน

๔,๐๐๐ บาท /เต็มวัน
๒,๕๐๐ บาท/ครึ่งวัน

๔,๐๐๐ บาท /เต็มวัน
๒,๕๐๐ บาท/ครึ่งวัน
ห้องประชุมขนาด ๕๐ คน ๒,๐๐๐ บาท /เต็มวัน
๑,๕๐๐ บาท/ครึ่งวัน
๒,๐๐๐ บาท /เต็มวัน
๑,๕๐๐ บาท/ครึ่งวัน
ห้องประชุมขนาด ๑๕ คน ๑,๐๐๐ บาท /เต็มวัน
๘๐๐ บาท/ครึ่งวัน
๑,๐๐๐ บาท /เต็มวัน
๘๐๐ บาท/ครึ่งวัน
     
     

 

ศูนย์ฝึกอบรมและสัมมนา สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริการ และอำนวยความสะดวกแก่คณาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา รวมทั้งหน่วยงาน และบุคคลทั่วไปที่มาทำการวิจัย การเรียนการสอน การฝึกงาน การจัดประชุมวิชาการ ตลอดจนการอบรมและสัมมนาต่าง ๆ

ศูนย์ฝึกอบรมและสัมมนามีห้องประชุมรวม ๓ ห้องที่มีขนาดต่างกันสำหรับจัดประชุม อบรม สัมมนา ต่างๆ พร้อมเครื่องปรับอากาศ และอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ที่ทันสมัย (LCD Projector, Visualizer, Overhead Projector, Slide) อินเตอร์เน็ตไร้สาย และ ห้องพักระดับมาตรฐาน จำนวน ๒๐ ห้อง โดยแบ่งเป็น ห้องปรับอากาศ ๒ คน จำนวน  ๑๐ ห้อง  ห้องปรับอากาศ ๖ คน จำนวน ๑๐  ห้อง ซึ่งมีเครื่องอำนวยความสะดวกทีวีระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน และเครื่องทำน้ำอุ่น

 

  

   
 ภาพด้านหน้าอาคารฝึกอบรมฯ  ภาพระเบียบด้านหน้าห้องพักบนอาคารศูนย์ฝึกอบรมฯ ทางเดินภายในอาคาร
     
 ห้องประชุมใหญ่ มุมมองจากด้านบน ระเบียงด้านข้างห้องประชุมใหญ่ (จุดชมวิว)  ลานกิจกรรมเอนกประสงค์
     

 

บริเวณด้านหน้าห้องพัก ห้องพักขนาด ๖ คน ห้องพักขนาด ๒ คน
   
 ห้องประชุมขนาดใหญ (ส่ชัง ๑) ความจุ ๘๐ คน ห้องประชุมขนาดกลาง (สีชัง ๒) ความจุ ๕๐ คน   ห้องประชุมขนาดเล็ก (สีชัง๓) ความจุ ๒๐ คน
     

 


ติดต่อ จองห้องพัก ห้องประชุม ศูนย์ฝึกอบรมและสัมมนา

นางสาวเพ็ญพร พักตร์จันทร์
อีเมล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
โทร 0-3821-6198
มือถือ 06-5503-1560

นางพาฝัน เกตุแก้ว
มือถือ 09-6993-1654

อัตราจัดเก็บค่าใช้สถานที่
แบบฟอร์มใช้ศูนย์ฝึกอบรมและสัมมนา เฟจบุ๊ค ศูนย์ฝึกอบรมและสัมมนา
แบบฟอร์มขอใช้เรือจุฬาวิจัย 1    

 

 

 ติดต่อสถาบัน

สำนักงานใหญ่: กรุงเทพมหานคร

สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

เลขที่ 254 อาคารสถาบัน 3 ชั้น 9 ถ.พญาไท
แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทรศัพท์ +662-218-8160-3
โทรสาร: +662-254-4259
อีเมล์   : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

map :  google mapstreet view, Chula map and Directions

 

 สถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิต เกาะสีชัง
 149 หมู่ 3 ตำบลท่าเทววงษ์ อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี 20120    
 
โทรศัพท์: +66-3821-6198 
โทรสาร: +66-3821-6350    
อีเมล์  l: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
แผนที่  : Google Map
 
ข้อมูลเกี่ยวกับเกาะสีชัง
  • http://www.ko-sichang.com/
  • http://eng.folktravel.com/
  • http://kohsichang.go.th
  • http://www.tatnews.org/ko-si-chang-the-island-of-yesteryear/
 

สถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิต เกาะสีชัง

 

สถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิต เกาะสีชัง ได้จัดตั้งขึ้นบนที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ มีเนื้อที่ประมาณ ๒๒ ไร่ บริเวณตำบลท่าเทววงษ์ อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรีมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสถานีวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลและสาขาอื่นที่่เกี่ยวข้องรวมถึงเป็นแหล่งบริการทางวิชาการแก่ชุมชนในบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้สถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลยังมีภาระรับผิดชอบในงานอนุรักษ์และทำนุบำรุงโบราณสถานอันมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในบริเวณเกาะสีชังอีกด้วย

 

สถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิตเกาะสีชังมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการทำงานวิจัยในโครงการต่างๆ เช่น ห้องปฏิบัติการพร้อมอุปกรณ์สำหรับวาริชกรรมการเพาะเลี้ยงและเรือปฏิบัติการชายฝั่ง “เรือจุฬาวิจัย ๑” ซึ่งมีอุปกรณ์ วิทยุสื่อสาร เครื่องหาตำแหน่งบนพื้นโลก เครื่องหยั่งความลึกน้ำ และเครื่องมือสำรวจสมุทรศาสตร์เบื้องต้น งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลโดยเฉพาะสมุทรศาสตร์ชายฝั่ง คุณภาพน้ำอ่าวไทยตอนบนและงานอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะระบบนิเวศแนวปะการัง สามารถดำเนินงานได้ที่สถานีวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์สัตว์ทะเลและโภชนาการสำหรับสัตว์ทะเลที่เลี้ยง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยด้านประมง โดยเน้นการประมงพื้นบ้านและการเพิ่มผลผลิตการประมงโดยบางส่วนเป็นการบริการวิชาการที่ สืบเนื่องจากการขยายผลจากงานวิจัยของนักวิจัยในสถาบัน

 

 

          สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีรากฐานจากการจัดตั้งจากผลการพัฒนาที่ต่อเนื่องมาจากภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล และสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิต เกาะสีชัง  โดยมีเหตุผลและความเป็นมา ดังรายละเอียดต่อไปนี้ สืบเนื่องจากเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๐ได้มีการจัดการประชุม Pacific Science Congress ขึ้นในประเทศไทยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งในการประชุมดังกล่าวประเด็นด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้ถูกหยิบยกมาเป็นหัวข้อสำคัญอย่างหนึ่งในการหารือ แต่อย่างไรก็ตามพบว่าขณะนั้นยังไม่มีการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลในภูมิภาคนี้แต่อย่างใด ต่อมา UNESCO จึงได้กระตุ้นผ่านคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งชาติ ไปยังคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติซึ่งเป็นสมาชิกของ Pacific Science Congress ให้เสนอไปยังรัฐบาลเพื่อให้มีการเปิดสอนด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลขึ้นในประเทศไทย โดยเบื้องต้นได้เลือกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งมีความพร้อมในสาขาที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลในภูมิภาคนี้

          ต่อมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดทำโครงการเสนอไปและได้รับอนุมติให้ดำเนินการจากสภาการศึกษาซึ่งเป็นผู้ดูแลการจัดการศึกษาของประเทศในขณะนั้น ทั้งนี้โดยให้เป็นไปตามหลักการสำคัญกล่าวคือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เน้นการสอนไปทางด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล การประมง (fishery) ส่วนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เน้นการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ (science) ซึ่งไม่ซ้ำซ้อนกัน แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด จึงให้ทั้ง ๒ หน่วยงานสามารถแลกเปลี่ยนบุคลากรในสาขาที่ต้องการแต่ยังไม่มีร่วมกันได้อีกด้วย  แม้ต่อมาทางจุฬาฯ จะมีการเปิดสอนทางด้าน fishery ร่วมด้วย แต่ก็ไม่ซ้ำซ้อนกัน เนื่องจากจุฬาฯ จะเน้นสอน fishery ที่เป็น commercial แต่ ม.เกษตร จะเน้น fishery ที่เป็น sciencevทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ก่อตั้ง ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ โดยอยู่ในสังกัดคณะวิทยาศาสตร์ และได้เปิดการเรียนการสอนในเวลาต่อมา

   สำหรับในด้านการจัดการเรียนการสอน นอกจากการเรียนในห้องเรียนแล้ว ยังมุ่งเน้นให้นิสิตได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ปฏิบัติงานจริงในภาคสนามในทุกขั้นตอน เป็นต้นว่า มีการเช่าเรือนำนิสิตออกภาคสนามเพื่อสำรวจข้อมูลทางสมุทรศาสตร์และนิเวศวิทยาในท้องทะเลและตามเกาะแก่งต่างๆ ทั่วประเทศ รวมตลอดถึงการเข้าร่วมการออกเรือปฏิบัติการในการสำรวจน่านน้ำของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ และการสำรวจแหล่งทรัพยากรประมงของกองประมงทะเล กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น

     นอกจากนี้เมื่อมีนิสิตเข้ามาเรียนมากขึ้นและได้มีการเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาร่วมด้วย ทางภาควิชาฯ จึงต้องการมีสถานีวิจัยเพื่อให้เป็นที่สำหรับฝึกปฏิบัติการและทำงานวิจัยของอาจารย์และนิสิตดังกล่าว โดยเบื้องต้นได้เริ่มเปิดดำเนินการที่อ่างศิลาก่อน แต่อย่างไรก็ตามต่อมาพบว่าสถานีวิจัยสัตว์ทะเลอ่างศิลาซึ่งมีพื้นที่ตั้งอยู่ในบริเวณชายทะเลนั้นเหมาะแก่การศึกษาทางด้านชายฝั่งทะเลและป่าชายเลนเท่านั้น นอกจากนี้พื้นที่ยังค่อนข้างคับแคบและมีปัญหาในด้านอาณาเขตโดยมีประชาชนรุกล้ำเข้ามาบ่อยครั้ง รวมทั้งยังมีปัญหามลพิษจากสะพานปลาบริเวณข้างเคียงอีกด้วย
 
          การก่อตั้ง สถานีวิจัยฯ เกาะสีชัง เป็นผลต่อมาอันเนื่องมาจากทางภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลยังต้องการพื้นที่อีกสักแห่งหนึ่งในทะเลที่ไม่ห่างจากกรุงเทพฯ  มากนัก โดยเลือกพื้นที่ซึ่งมีน้ำทะเลสะอาดปราศจากมลพิษ และมีบริเวณที่ค่อนข้างเป็นเอกเทศ เพื่อใช้เป็น สถานีทดลองวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ดร.ทวีศักดิ์ ปิยะกาญจน์ หัวหน้าภาควิชาฯ ในขณะนั้น และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรพล สุดารา ได้ใช้เวลาในช่วงของการนำนิสิตออกฝึกภาคสนามทางทะเล ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๑๒-๑๕๑๓  ทำการสำรวจและจัดหาสถานที่ที่เหมาะสม และในครั้งหนึ่งของการฝึกภาคสนามโดยเรือของกองสำรวจแหล่งประมงในน่านน้ำไทย กรมประมง วันสุดท้ายก่อนที่เรือสำรวจจะกลับเข้ากรุงเทพฯ จึงได้มีการแวะที่เกาะสีชัง และในการสำรวจครั้งนั้นได้ไปพบว่าพื้นที่บริเวณปลายแหลมวังมีความเหมาะสมมาก แต่มีปัญหาคือบริเวณดังกล่าวมีหน่วยงานราชการซึ่งเป็นผู้ครอบครองอยู่โดยมีสิ่งปลูกสร้างและบ้านพักของข้าราชการของ ๒ หน่วยงานดังกล่าวอยู่แล้ว คือ สถานกักกันเยาวชน กระทรวงมหาดไทยและบ้านพักข้าราชการของกรมไปรษณีย์โทรเลข
 
     ต่อมาหลังจากการเจรจาในเบื้องต้นกรมไปรษณีย์โทรเลขยินยอมที่จะยกพื้นที่ดังกล่าวให้แต่ทางกระทรวงมหาดไทยได้ขอต่อรองเพื่อแลกเปลี่ยนพื้นที่ดังกล่าวกับที่ดินของจุฬาฯ ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งก็คือค่ายดารารัศมีในปัจจุบัน จากนั้นภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล ได้ทำหนังสือถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าว และในที่สุดก็ได้ข้อสรุปคือ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้องเสียพื้นที่ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อแลกกับพื้นที่เกาะสีชังในบริเวณดังกล่าว และในวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำหนังสือถึงกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เพื่อขออนุญาตใช้ที่ดินบริเวณแหลมท่าวัง ตำบลเทววงษ์ (ท่าอัษฎางค์) กิ่งอำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ซึ่งรวมถึงพื้นที่ซึ่งเป็นบริเวณเขตพระราชวังเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระจุฑาธุชราชฐาน) เนื้อที่รวม ๒๒๔ ไร่ ๒ งาน ๕ ตารางวา โดยกรมธนารักษ์ได้มอบกรรมสิทธิ์การใช้ที่ดินให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑  และต่อมาในปี ๒๕๒๒ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้จัดตั้งโครงการ “สถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิต เกาะสีชัง (Sichang Marine Science Research and Training Station: SMaRT) ขึ้นโดยเป็นส่วนราชการในสังกัดของฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ที่บริเวณส่วนหน้าของพระจุฑาธุชราชฐาน ตำบลท่าเทววงษ์ กิ่งอำเภอเกาะสีชัง (สถานภาพในขณะนั้น) จังหวัดชลบุรี  โดยมีเหตุผลความจำเป็นในการจัดตั้งสถานีวิจัยฯ ดังกล่าวหลายประการ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการลดลงของปริมาณและคุณภาพทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล และการขาดแคลนสถานีวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิต อันเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาและวิจัยขั้นอุดมศึกษา การเป็นให้สถานที่บริการทางวิชาการและให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชนบนเกาะสีชังและบริเวณใกล้เคียง รวมตลอดถึงการอนุรักษ์และทำนุบำรุงโบราณสถานอันมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมของชาติในบริเวณเกาะสีชังอีกด้วย
 
   โดยต่อมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นความสำคัญของทรัพยากรทางน้ำและบทบาทที่เพิ่มขึ้นทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ จึงได้กำหนดนโยบายการวิจัยทางด้านนี้เพิ่มมากขึ้นและได้กลายเป็นภารกิจหลักของสถานีวิจัยฯ เกาะสีชัง ที่ควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาของภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล ทั้งนี้การดำเนินงานและการศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลในระยะที่ผ่านมาดังกล่าว ได้มีบทบาทสำคัญต่อความก้าวหน้าทางวิชาการด้านทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเล รวมถึงการแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมและการอนุรักษ์ทรัพยากรสำคัญของประเทศหลายประการ
 
     โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ซึ่งมีปัญหาโรคระบาดปลาน้ำจืดขั้นรุนแรง ซึ่งมหาวิทยาลัยได้จัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นเพื่อศึกษาและวิจัยปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน และได้แปรสภาพเป็นคณะกรรมการปฏิบัติภารกิจวิจัยทรัพยากรสิ่งมีชีวิตทางน้ำในเวลาต่อมา
รวมตลอดถึงโครงการความร่วมมือในการศึกษาวิจัยและแลกเปลี่ยนนักวิชาการตามบันทึกข้อตกลงที่ทำร่วมกับ University of the Ryukyus และ Sesoko Station ประเทศญี่ปุ่นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๒๙ อันเป็นกิจกรรมการวิจัยและสำรวจแนวปะการังครั้งสำคัญอันดับต้นๆ ของเมืองไทย รวมทั้งได้มีส่วนสร้างนักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลที่มีบทบาทสำคัญของประเทศ และมีผลงานวิชาการตีพิมพ์เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติจำนวนมาก ด้วยบทบาทและความสำคัญที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว
 
   ในระยะต่อมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงมีโครงการที่จะจัดตั้งสถาบันวิจัยแห่งหนึ่งขึ้นมา เพื่อประสานงานในการศึกษาและวิจัยด้านทรัพยากรทางน้ำของมหาวิทยาลัย โดยจะอาศัยทรัพยากรทางด้านงบประมาณ บุคลากร อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ของสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิต เกาะสีชัง ที่มีอยู่แล้วเป็นหลักและในระยะต่อมา “สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ (Aquatic Resources Research Institute: ARRI)”  ได้จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๓๔ โดยเบื้องต้นได้ใช้ที่ทำการชั่วคราวซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำก็ได้ย้ายมายังที่ทำการใหม่ในกลุ่มอาคารสถาบันวิจัยตามความต้องการของมหาวิทยาลัย โดยได้บริหารจัดการและดำเนินงานวิจัยตามพันธกิจและแนวนโยบายที่วางไว้มีความก้าวหน้าเรื่อยมาเป็นลำดับ
 
       ปัจจุบัน สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ตั้งอยู่ที่อาคารสถาบัน ๓ ชั้น ๙ ถ.พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โดยมี สถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิต เกาะสีชัง เป็นหน่วยปฏิบัติงานวิจัยหลัก ซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเพียงพอในการศึกษาวิจัยของนักวิจัย คณาจารย์ และนิสิตระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา รวมทั้งยังอำนวยความสะดวกในการฝึกอบรมและการบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องต่างๆ ให้แก่นิสิตและบุคคลทั่วไป โดยมี ศูนย์ฝึกอบรมและสัมมนา ซึ่งเปิดบริการมาตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๔๑ สามารถรองรับผู้เข้าร่วมฝึกอบรมและสัมมนาได้จำนวน ๘๐ คน และมี พิพิธภัณฑ์ชลทัศนสถาน ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติทางทะเลของเกาะสีชัง
 

หมวดหมู่รอง

ข่าวกิจกรรม ของสถาบัน